1402 จำนวนผู้เข้าชม |
บริษัท อาร์มเทค และ วว. - ศทร.
นำเสนอรายละเอียดคุณลักษณะเทคโนโลยีสนับสนุนประสิทธิภาพและความปลอดภัยการขนส่งทางระบบราง ณ การรถไฟแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 65 ที่ผ่านมา ดร. อาณัติ หาทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พร้อมด้วย คุณภณสินธุ์ ไพทีกุล ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีขนส่งทางรางและยานยนต์ขนส่ง (หป.พร.) ดร.ฮัฟนี ลาเต๊ะ และ คุณสราวุธ แสงวิเชียร นักวิชาการ ศทร. คุณนพดล เดวิเลาะ ผู้จัดการบริษัทอาร์มเทค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และ คุณสมชัย ไผ่ศิริ ที่ปรึกษาทางวิศวกรรมระบบราง ได้ประชุมนำเสนอรายละเอียดคุณลักษณะของอุปกรณ์และขออนุมัติติดตั้งเพื่อสาธิตการใช้งานอุปกรณ์วัดน้ำหนักรถไฟ ติดตามสถานะและระบุคุณลักษณะรถไฟ ให้แก่คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ณ ห้องประชุมฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
การประชุมในครั้งนี้ ทาง รฟท. นำโดย ผศ.ดร.ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการ กลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน และทีมเจ้าหน้าที่ รฟท. อาทิเช่น วิศวกรกำกับการกองแบบแผนรถพ่วง วิศวกรกำกับการกองแบบแผนรถจักร วิศวกรกองกำกับการโครงการและวางแผน วิศวกรอำนวยการศูนย์ซ่อมบำรุง พนักงานเทคนิค เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอ
ดร.อาณัติ หาทรัพย์ ผอ. ศทร. ได้นำเสนอภาพรวมภาระกิจการดำเนินงานใน 5 ด้านของ ศทร. - วว. ได้แก่
ที่ประชุมได้มีการซักถามถึงคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางเทคนิคที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสนับสนุนประสิทธิภาพและความปลอดภัยการขนส่งทางระบบรางของ วว.- ศทร. ต่อไป
อนึ่ง สำหรับอุปกรณ์วัดน้ำหนักพลวัตรของล้อรถไฟ (TWD) นั้นเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นโดย วว.- ศทร. เองทั้งหมดทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ โดย วว.- ศทร. ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากกองทุน The Pérez-Guerrero Trust Fund for South-South Cooperation (PGTF) จาก The United Nations Office for South-South Cooperation (UNOSSC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการขนส่งสินค้าทางระบบรางโดยใช้เทคโนโลยีที่ผลิตและคิดค้นขึ้นใช้เองในประเทศ พึ่งพาเทคโนโลยีของตนเองได้ในอนาคต (Self - Reliance) ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างชาติ สอดคล้องกับเป้าหมายของโปรแกรมการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNDP) ภายใต้กองทุน PGTF ซึ่ง วว.- ศทร. ตั้งเป้าติดตั้งใช้งาน 3 พื้นที่คือ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย