อาร์มเทคและ วว.- ศทร. ร่วมประชุมหารือและเยี่ยมชมบริษัท เอ็มอาร์พี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

1925 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อาร์มเทคและ วว.- ศทร. ร่วมประชุมหารือและเยี่ยมชมบริษัท เอ็มอาร์พี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

อาร์มเทคและ วว.- ศทร. ร่วมประชุมหารือและเยี่ยมชมบริษัท เอ็มอาร์พี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

เรื่องการส่งเสริมผู้ประกอบการที่มีความพร้อมและศักยภาพสูงในการผลักดันการผลิตชิ้นส่วนระบรางและรถไฟความเร็วสูงในประเทศ ตามนโยบาย Thai First เพื่อสนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนระบบรางในประเทศ (Local content)

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา ดร.อาณัติ หาทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พร้อมด้วยนักวิชาการประจำศูนย์ฯ และคุณนพดล เดวิเลาะ ตำแหน่งผู้จัดการ บริษัทอาร์มเทค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ได้เข้าร่วมประชุมหารือกับคณะผู้บริหารบริษัท เอ็มอาร์พี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด นำโดยคุณรุจน์ รุ่งโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ

โดย วว-ศทร ได้ดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนระบรางและรถไฟความเร็วสูงในประเทศ (Local content) ตามนโยบาย Thai First โดย วว. กำลังเตรียมความพร้อมของระบบสนับสนุนที่จำเป็น อาทิเช่น NQI ระบบราง และสำรวจความพร้อมของผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูงในการผลักดันชิ้นส่วนระบรางให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม

ในโอกาสนี้ บริษัท เอ็มอาร์พี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ได้นำเสนอความเป็นมาของโรงงานซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยเริ่มต้นจากโรงงานขนาดเล็ก จนถึงปัจจุบันได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านการแปรรูปโลหะภัณฑ์ขนาดใหญ่

โดยมีเครื่องจักรที่หลากหลาย สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ตั้งแต่งานเชื่อมประกอบ งานเชื่อมพอกผิวแข็ง งานพ่นทราย ทำสี งานกลึง กัด ไส เจียรนัย เจาะ คว้านรู งานประกอบเพื่อทดสอบระบบ การทำงานเสมือนหน้างานจริงและงานติดตั้งเครื่องจักรทำให้บริษัท เอ็มอาร์พี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นบริษัทที่สามารถผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักกลได้อย่างครบวงจร อีกทั้งยังได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 :2015

บริษัทฯ มุ่งเน้น ด้านการแปรรูป โลหะภัณฑ์ขนาดใหญ่ ซ่อม สร้างเครื่องจักร และรับเหมาโครงการ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า ในโอกาสนี้ บริษัทฯ ได้พาคณะ วว-ศทร. เยี่ยมชมไลน์กระบวนการผลิตของบริษัทฯ อีกด้วย

ทั้งนี้ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) มีความพร้อมในการสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาและการผลิตชิ้นส่วน Local Content เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในระบบขนส่งให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนต่อไป

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้